ขายฝาก ฝากขาย จำนอง จำนำ สารพัดคำศัพท์ชวนงง ฟังแล้วก็ยังสงสัยว่าต่างกันอย่างไร? แล้วแบบไหนที่เหมาะกับเรานะ วันนี้เรามาทำความเข้าใจของคำเหล่านี้กันดีกว่าค่ะ
ไม่ว่าจะเป็นการ ขายฝาก ฝากขาย จำนอง จำนำ ทั้ง 4 คำ คือคำศัพท์ที่เกี่ยวกับการทำสัญญาทางการเงินที่มีทรัพย์สินเป็นประกันการชำระหนี้ ต่างกันที่เงื่อนไขและประเภทของทรัพย์สินที่นำมาใช้เป็นประกันค่ะ
การขายฝาก คืออะไร?
การขายฝาก คือ การที่ผู้ขายฝากนำทรัพย์สินของตัวเองขายให้กับผู้ซื้อฝาก โดยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้ซื้อฝากทันทีเมื่อมีการทำสัญญา แต่ระหว่างนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ขายฝากนำเงินมาไถ่ถอนคืนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยผู้ซื้อฝากจะได้รับได้ดอกเบี้ยในแต่ละเดือน และได้รับเงินต้นคืนเมื่อถึงเวลาไถ่ถอน
ข้อดีของการขายฝาก
ทำนิติกรรมที่ดินที่สำนักงานที่ดิน มีความน่าเชื่อถือและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
ประเมินวงเงินสูงถึง 40-70% จากราคาประเมิน
ผู้ขายฝากได้รับเงินทันทีเมื่อทำสัญญา
ระยะเวลาขายฝากเริ่มต้นที่ 1 ปี และสามารถต่อเวลาได้ไม่เกิน 10 ปี
ดอกเบี้ยขายฝากต่ำ ไม่เกิน 15% ต่อปีตามที่กฏหมายกำหนด
ไม่ต้องใช้คนค้ำประกัน ใช้เพียงโฉนดที่ดินเป็นทรัพย์สินในการค้ำประกัน
ผู้ขายฝากยังได้ครอบครองที่ดินและใช้ประโยชน์ได้จนกว่าจะพ้นกำหนด
สามารถไถ่ถอนทรัพย์สินที่ตัวเองขายฝากได้ตามในระยะเวลากำหนดของสัญญาที่ตกลง
ข้อเสียของการขายฝาก
มีดอกเบี้ยที่ต้องชำระให้กับผู้ซื้อฝากในแต่ละเดือน
มีค่าธรรมเนียมในอัตรา 2%
หากไม่สามารถไถ่ถอนคืนตามระยะเวลาที่กำหนด กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับซื้อทันที
ความปลอดภัยของทรัพย์สินขึ้นอยู่กับผู้ซื้อฝาก ถ้าเจอผู้ซื้อฝากที่ไม่ดี ต่อรองไม่ได้ และไถ่ถอนไม่ตรงเวลาที่กำหนดอาจทำให้โดนยึดทรัพย์สินไปเลย
การฝากขาย คืออะไร?
การฝากขาย คือ การที่เจ้าของทรัพย์สิน (ผู้ฝากขาย) ฝากให้ตัวแทน นายหน้า หรือบริษัทโบรกเกอร์ (ผู้รับฝาก) ช่วยขายทรัพย์สินให้ ซึ่งผู้รับฝากจะช่วยโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ให้เจ้าของทรัพย์สินสามารถขายได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น
โดยเจ้าของอทรัพย์สินจะเสียค่าคอมมิชชั่นให้ผู้รับฝากตามที่ตกลงกันไว้ และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นไม่ได้โอนไปให้ผู้รับฝาก แต่จะโอนให้ผู้ซื้อเมื่อขายทรัพย์สินสำเร็จ ซึ่งการฝากขายจะมีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันตรงกันทั้งสองฝ่าย
ข้อดีของการฝากขาย
ไม่ต้องทำนิติกรรมที่ที่ดิน แต่เป็นการทำสัญญากับผู้รับฝากเท่านั้น
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังคงเป็นของเรา จนว่าจะเกิดการซื้อขายสำเร็จ
ค่าใช้จ่ายชัดเจนตามที่ตกลง จ่ายเมื่อการซื้อขายสำเร็จ
ข้อเสียของการฝากขาย
ได้รับเงินเมื่อการซื้อขายสำเร็จแล้วเท่านั้น ไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้เงินเร่งด่วน
กำหนดการขายสำเร็จไม่ตายตัว ขึ้นอยู่อยู่กับหลายปัจจัย อาจจะขายได้หรือไม่ ก็ได้
การจำนำ คืออะไร?
การจำนำ คือ การทำสัญญากู้ยืมเงินที่มีทรัพย์สินเป็นประกัน โดยเป็นทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ หรือ ทรัพย์ที่เคลื่อนย้ายได้ เช่น รถยนต์ สมาร์ทโฟน แหวนเพชร สร้อยทอง เป็นต้น
แม้ระหว่างผ่อนชำระเงินคืนตามสัญญา ผู้รับจำนำมีสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินที่จำนำ ขณะเดียวกันก็มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลทรัพย์สินจนกว่าผู้จำนำจะมาชำระหนี้ไถ่ถอนคืน หากมีการผิดชำระหนี้ ผู้รับจำนำมีสิทธิ์ยึดทรัพย์สินได้ทันที
การจำนอง ต่างจาก การจำนำ อย่างไร
การจำนอง ก็เหมือนกับการจำนำ แต่ทรัพย์สินที่นำมาเป็นประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือ ทรัพย์ที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม เป็นต้น
การทำสัญญาจำนองที่ดินต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน ณ กรมที่ดินเท่านั้น และ
กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของผู้จำนองเช่นเดิม แต่ผู้จำนองไม่สามารถนำทรัพย์ไปทำธุรกรรมทางการเงินอื่นได้
ข้อดีของจำนอง
ทำนิติกรรมกับเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ที่สำนักงานที่ดิน
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังคงเป็นของเรา ไม่จำเป็นต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนองให้กับผู้รับจำนอง
สัญญาจำนองไม่มีขั้นต่ำ และกฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาสูงสุดของการจำนองไว้
หากมีการผิดชำระหนี้ ไม่สามารถยึดทรัพย์สินได้ทันที ผู้รับจำนองต้องไปฟ้องกับศาล และหากจะนำทรัพย์ขายทอดตลาดต้องมีหนังสือบอกผู้จำนองล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน
ข้อเสียของการจำนอง
วงเงินค่อนข้างต่ำ ประมาณ 10-30% ของราคาประเมิน
สรุปข้อแตกต่างของการขายฝาก ฝากขาย จำนอง
ขายฝาก | ฝากขาย | จำนอง | |
วงเงินกู้ | 40-70% ของราคาประเมิน | ขายตามราคาตลาด | 10-30% ของราคาประเมิน |
การรับเงิน | ได้รับเงินเมื่อทำธุรกรรมเสร็จ | ได้รับเงินเมื่อขายสำเร็จ | ได้รับเงินมื่อที่ทำธุรกรรมเสร็จ |
การทำนิติกรรม | ณ กรมที่ดิน | ที่ใดก็ได้ | ณ กรมที่ดิน |
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ | บังคับมอบทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์ทันที | ไม่ต้องมอบทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์ | ไม่ต้องมอบทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์ |
สิทธิการใช้ประโยชน์ | ไม่มีสิทธิ์ใช้ประโยชน์ทรัพย์สิน จนกว่าจะไถ่ถอนทรัพย์สินทั้งหมดออกไป | มีสิทธิ์ใช้ประโยชน์ทรัพย์สินต่อไปได้ | มีสิทธิ์ใช้ประโยชน์ทรัพย์สินต่อไปได้ |
ระยะเวลาไถ่ถอน | กำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินคืนได้นับแต่เวลาขายฝาก โดยกฎหมายกำหนดทรัพย์สินทั้ง 2 ประเภทไว้ว่า - อสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 10 ปี - สังหาริมทรัพย์ ไม่เกิน 3 ปี | - | กฎหมายการจดจำนอง ไม่มีการกำหนดระยะเวลาในสัญญา ผู้จำนองสามารถชำระหนี้กับผู้รับจำนองจนกว่าจะครบยอดที่กำหนด |
ค่าใช้จ่าย | ผู้ขายฝากต้องชำระดอกเบี้ยตามตกลงให้กับผู้ซื้อฝาก แต่ไม่เกิน 15% ต่อปี | ตามแต่ตกลง เมื่อการขายสำเร็จ | ผู้จำนองต้องชำระดอกเบี้ยตามตกลงให้กับผู้รับจำนอง แต่ไม่เกิน 15% ต่อปี |
ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน |
| - |
|
ถ้าหากคุณต้องการคำแนะนำ หรือต้องการฝากขาย ขายฝาก หรือ จำนองทรัพย์ของคุณ นิรันดร์พัฒนา ให้บริการเปลี่ยนทรัพย์เป็นเงินให้คุณได้ทันที
ติดต่อเราได้ที่
โทร : 098 222 3289
LINE : @nirunpattana
Comments